top of page
  • Facebook
  • Youtube
  • Email
ค้นหา

นวัตกรรมสีเขียวเพื่อนำประเทศไทยเข้าสู่เส้นทางพลังงานสะอาด อากาศบริสุทธิ์ ความมั่นคงของเศรษฐกิจและสังคม (Thailand’s Roadmap to Clean energy, Pure air, Economic and Social stability)

อัปเดตเมื่อ 13 มี.ค.

โดย บริษัท วีอาร์พี ดีเวลลอปเม้นท์ โฮลดิ้งส์ จำกัด


ประเทศไทยมีเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวในพื้นที่การเพาะปลูกจำนวนกว่า 70 ล้านตันต่อปีและไผ่ที่สามารถส่งเสริมให้ปลูกได้อีกกว่า 200 ล้านตันต่อปี รวม 270 ล้านตันต่อปี ซึ่งเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและไผ่ดังกล่าวสามารถนำมาผลิตเป็นชีวมวลอัดเม็ดได้และด้วยเหตุที่ชีวมวลอัดเม็ดจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและไผ่ถือเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้สะอาดที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutral) ทำให้สามารถนำเอาชีวมวลอัดเม็ดดังกล่าวไปใช้เป็นพลังงานทดแทนการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตไฟฟ้าสะอาดและการผลิตของภาคอุตสาหกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ ด้วยคุณสมบัติการเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้สะอาดที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนที่สามารถนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตไฟฟ้าสะอาดและการผลิตสินค้าของภาคอุตสาหกรรม เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ดังกล่าว จึงทำให้ภาคการผลิตไฟฟ้าและภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยมีความต้องการใช้ชีวมวลอัดเม็ดดังกล่าวเป็นจำนวนกว่าหลายพันตันต่อปี แต่ด้วยเหตุที่เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมีน้ำหนักเบาและอยู่ในพื้นที่การเพาะปลูกที่มีระยะทางห่างไกลจากโรงงานผลิตชีวมวลอัดเม็ดจึงทำให้การขนส่งต่อเที่ยวได้น้อยและต้องขนส่งด้วยระยะทางที่ไกล จึงทำให้ต้นทุนค่าขนส่งเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจากพื้นที่เพาะปลูกมายังโรงงานผลิตมีต้นทุนที่สูงและนอกจากนี้การจัดตั้งโรงงานผลิตชีวมวลอัดเม็ดยังมีต้นทุนค่าจัดซื้อที่ดินและการก่อสร้างโรงงานฯที่สูงอีก จึงยิ่งทำให้ต้นทุนการผลิตชีวมวลอัดเม็ดด้วยวิธีการจัดตั้งโรงงานผลิตมีต้นทุนที่สูงกว่าราคาเชื้อเพลิงถ่านหิน จึงไม่คุ้มค่าที่จะนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตเป็นชีวมวลอัดเม็ดเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ ผลจากการที่ไม่สามารถนำมาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตเป็นชีวมวลอัดเม็ดได้ดังกล่าวจึงทำให้ในช่วงเวลากว่าหลายสิบปีที่ผ่านมาประเทศทั่วโลกและไทยเกิดปัญหาดังนี้

(1) ปัญหาการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

การขาดแคลนเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด ทำให้ไม่มีชีวมวลอัดเม็ดมาใช้เป็นพลังงานในการผลิตไฟฟ้าสะอาดและการผลิตของภาคอุตสาหกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ จึงทำให้ภาคการผลิตไฟฟ้าและภาคอุตสาหกรรมต้องใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นพลังงานในการผลิตไฟฟ้าและสินค้าส่งผลทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

(2) ปัญหาการปล่อยมลพิษฝุ่น PM 2.5 จากการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

การที่ไม่สามารถนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตเป็นชีวมวลอัดเม็ดได้ ทำให้เกษตรกรต้องใช้วิธีการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรก่อนที่จะทำการเพาะปลูกในรอบใหม่ ส่งผลทำให้เกิดมลพิษฝุ่น PM 2.5 จากการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจำนวนมากดังกล่าว ส่งผลทำให้ทั้งเกษตรกรและประชาชนกว่าหลานล้านคนต่อปีต้องเจ็บป่วยและอีกกว่า 30,000 คนต่อปีเสียชีวิตก่อนวัยอันควร รวมถึงยังทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศได้รับความเสียหายกว่าหลายแสนล้านบาท

(3) ปัญหาความยากจนของเกษตรกรและชุมชน

เกษตรกรขาดโอกาสที่จะได้รับรายได้จากค่าเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นชีวมวลอัดเม็ดได้

จากปัญหาที่ไม่สามารถนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตเป็นชีวมวลอัดเม็ดได้อย่างคุ้มค่าได้ดังกล่าว หากมีนวัตกรรมที่สามารถนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและไผ่กว่า 270 ล้านตันต่อปีดังกล่าวมาผลิตเป็นชีวมวลอัดเม็ดได้อย่างคุ้มค่าก็จะทำให้สามารถนำเอาชีวมวลอัดเม็ดดังกล่าวไปใช้เป็นพลังงานทดแทนการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล (ถ่านหิน, น้ำมันเตา และก๊าซธรรมชาติ) สำหรับการผลิตไฟฟ้าสะอาดและการผลิตของภาคอุตสาหกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและสารพิษจากถ่านหินที่ทำให้ประชาชนเจ็บป่วยและเสียชีวิต รวมถึงลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศได้กว่าหลายแสนล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ยังทำให้เกษตรกรไม่ต้องเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ทำให้สามารถป้องกันไม่ให้เกิดมลพิษฝุ่น PM 2.5 จากการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรได้ รวมถึงยังทำให้เกษตรกรและประชาชนมีรายได้จากค่าเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและไผ่ที่ส่งเสริมให้มีการเพาะปลูกได้ ซึ่งก็จะทำให้รัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าสะอาดและการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากภาคการผลิตไฟฟ้าและภาคอุตสาหกรรม, ปัญหามลพิษฝุ่น PM 2.5 จากการเผาเศษวัสดุการเกษตรและความยากจนของเกษตรกรและประชาชนได้ ซึ่งจะส่งผลทำให้ค่า GDP ของประเทศสูงขึ้น

และนับเป็นโชคดีที่ในปัจจุบันกรมควบคุมมลพิษและภาคเอกชนซึ่งได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกันเพื่อคิดค้น วิจัย และพัฒนาสร้างนวัตกรรมที่สามารถนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตเป็นชีวมวลอัดเม็ดให้คุ้มค่าเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยนวัตกรรมดังกล่าวคือ “นวัตกรรมระบบผลิตชีวมวลอัดเม็ดจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรแบบเคลื่อนที่ (Mobile Biomass Pellet Production System)” และนวัตกรรมประกอบอื่นที่สามารถแก้ไขปัญหาเดิม ที่โรงงานผลิตไม่สามารถที่จะนำเศษวัดุการเกษตรมาผลิตเป็นชีวมวลอัดเม็ดได้อย่างคุ้มค่า โดยนวัตกรรมดังกล่าวซึ่งเป็นแบบเคลื่อนที่ไม่ต้องเสียต้นทุนค่าลงทุนที่ดิน, ค่าก่อสร้างโรงงาน และต้นทุนค่าขนส่งเศษวัสดุที่มีต้นทุนที่สูง จึงทำให้ต้นทุนการผลิตชีวมวลอัดเม็ดต่ำกว่าราคาจำหน่ายชีวมวลอัดเม็ดและถ่านหินตามท้องตลาดโลก จึงทำให้นวัตกรรมดังกล่าวมีขีดความสามารถในการนำเอาเศษวัสดุการเกษตรที่มีอยู่ในพื้นที่การเพาะปลูกและไผ่ดังกล่าวมาผลิตเป็นชีวมวลอัดเม็ดได้อย่างคุ้มค่าได้ และหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมการเกษตรระดับจังหวัด, ศูนย์ปฏิบัติการที่สี่กองกำลังรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) รวมถึงกรมการข้าวก็ได้ร่วมมือและลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการใช้นวัตกรรมดังกล่าวในการนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและไผ่ (ที่ส่งเสริมให้ปลูก) มาผลิตเป็นชีวมวลอัดเม็ด เพื่อใช้เป็นพลังงานในการผลิตพลังงานไฟฟ้าสะอาดและการผลิตของภาคอุตสาหกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน และเพื่อส่งเสริมการทำเกษตรโดยไม่เผาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดมลพิษฝุ่น PM 2.5 จากการเผาเศษวัสดุการเกษตร และสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับเกษตรกร ซึ่งได้ผลลัพธ์เป็นอย่างดีแล้ว และนวัตกรรมดังกล่าวยังได้รับการจดทะเบียนอนุสิทธิบัตรเลขที่ 21944 ไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา และกองกำลังรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ได้มอบประกาศเกียรติคุณรางวัลนวัตกรรมระดับดีให้กับนวัตกรรมดังกล่าว ดังนั้นรัฐบาลจึงสามารถใช้นวัตกรรมระบบผลิตชีวมวลอัดเม็ดจากเศษวัสดุการเกษตรแบบเคลื่อนที่และนวัตกรรมประกอบอื่นดังกล่าวไปใช้ในการขยายผลในการนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและส่งเสริมการปลูกไผ่มาผลิตเป็นชีวมวลอัดเม็ดเพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศดังนี้

1. แก้ไขการขาดแคลนพลังงานสะอาดและการปล่อยก๊าซคาร์บอน

1.1 เพื่อใช้ชีวมวลอัดเม็ดเป็นพลังงานทดแทนการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตไฟฟ้าสะอาดให้เพิ่มมากขึ้นกว่าหลายหมื่นเมกะวัตต์ต่อปี เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนกว่าหลายร้อยล้านตันต่อปีจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและดึงดูดให้นักลงทุนจากต่างชาติมาลงทุนเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้มวลรวม (GDP) ให้กับประเทศ

1.2 เพื่อใช้ชีวมวลอัดเม็ดเป็นพลังงานในการผลิตของภาคอุตสาหกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนหลายร้อยล้านตันคาร์บอนเครดิตต่อปีจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อป้องกันไม่ให้ภาคอุตสาหกรรมส่งออกซึ่งมีมูลค่ากว่า 10 ล้านล้านบาทต่อปีได้รับผลกระทบจากมาตรการกำแพงภาษีการปล่อยก๊าซคาร์บอนข้ามแดน

1.3 เพื่อใช้ชีวมวลอัดเม็ดเป็นพลังงานทดแทนการใช้พลังงานจากก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) สำหรับการหุงต้มในร้านค้าและภาคครัวเรือนเพื่อลดต้นทุนค่าเชื้อเพลิงให้กับร้านค้าและภาคครัวเรือน และเพื่อทำให้ภาครัฐไม่ต้องอุดหนุนราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวกว่าหลายหมื่นล้านบาทต่อปี

2. แก้ไขปัญหามลพิษฝุ่น PM 2.5 จากการเผาเศษวัสดุการเกษตร

2.1 เพื่อส่งเสริมการทำเกษตรโดยไม่เผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดมลพิษฝุ่น PM 2.5 จากการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรทั้งในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือและพื้นที่การเพาะปลูกทั่วประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนกว่าหลายล้านคนต่อปีต้องเจ็บป่วยและอีกกว่า 30,000 คนต่อปีต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควร รวมถึงเพื่อป้องกันไม่ให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศกว่าหลายแสนล้านบาทต่อปีต้องได้รับความเสียหายจากผลกระทบของปัญหามลพิษฝุ่น PM 2.5 จากการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรดังกล่าว

3. แก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกร

3.1 เพื่อทำให้เกษตรกรและประชาชนมีรายได้จากค่าเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและไผ่ที่ส่งเสริมให้มีการเพาะปลูกกว่าหลายแสนล้านบาทต่อปี

นวัตกรรมระบบผลิตชีวมวลอัดเม็ดจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรแบบเคลื่อนที่และนวัตกรรมประกอบอื่น จึงเป็นนวัตกรรมที่สร้างพลังงานทางเลือก/พลังงานหมุนเวียน/พลังงานทดแทน ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนสีเขียว (BCG) เพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESG) ที่รัฐบาลต้องสนับสนุนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกร, ประชาชน, ภาคอุตสาหกรรมและประเทศดังกล่าวข้างต้น เพื่อนำประเทศไทยเข้าสู่เส้นทางพลังงานสะอาด อากาศบริสุทธิ์ และความมั่นคงของเศรษฐกิจและสังคม (Thailand’s Road map to Clean energy, Pure air, Economic and Social stability) เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน (SDGs) ในระยะยาว



 
 
 

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด
บทความเดียวดายใต้ทุนนิยม: ทางออกของเกษตรกรท่ามกลางวิกฤต PM2.5

โดย บริษัท วีอาร์พี ดีเวลลอปเม้นท์ โฮลดิ้งส์ จำกัด การเผาเศษวัสดุทางการเกษตร: ทางเลือกที่ถูกจำกัด การเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นวิ...

 
 
 
ปัญหา PM2.5 ในประเทศไทยและการใช้ชีวมวลอัดเม็ด (biomass pellet หรือ wood pellet) ในการแก้ไขปัญหา

โดย บริษัท วีอาร์พี ดีเวลลอปเม้นท์ โฮลดิ้งส์ จำกัด ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือที่รู้จักกันในชื่อ...

 
 
 

Comments


ติดต่อเรา

(+66)65-069-0634, 02-0023585

เลขที่ 85/4 หมู่ที่ 6 ถนนบางกรวย-ไทรน้อย

ตำบลบางรักใหญ่ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110

bottom of page